การขอสินเชื่อรถยนต์นอกจากเตรียมเอกสารแล้ว อาจมีผู้ค้ำประกันหรือผู้กู้ร่วม
เพื่อให้สถาบันการเงินไฟแนนซ์ หรือ ลีสซิ่ง ที่ไปยื่นกู้ มั่นใจได้ว่าผู้กู้มีกำลังทรัพย์ในการผ่อน
ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่สามารถผ่อนชำระรถยนต์ได้ จะมีผู้ที่รับผิดชอบภาระหนี้แทน แต่ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้กู้ร่วมหรือผู้ค้ำประกัน มีความแตกต่างกัน
ผู้กู้ร่วม
คือการที่มีผู้กู้เพิ่มเข้ามากู้ขอสินเชื่อร่วมด้วย
โดยร่วมกันเป็นลูกหนี้ของทรัพย์สินนั้นๆ ต้องเป็นบุคคลในเครือญาติที่มีนามสกุลเดียวกันเท่านั้น
อาจจะเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือบุตร ซึ่งจะทำให้ผ่านการอนุมัติจากสถาบันการเงินมากขึ้น
ดังนั้นผู้ปล่อยสินเชื่อจะนำข้อมูลทางการเงินของผู้กู้ร่วมมาพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อด้วย
ซึ่งผู้กู้ร่วมถือว่ามีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับผู้ขอสินเชื่อ และอาจจะต้องช่วยชำระค่างวดรถร่วมกับผู้ซื้อตามตกลงกันอีกด้วย
ผู้ค้ำประกัน
คือบุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ขอสินเชื่อ ไม่ได้มีสถานะเป็นลูกหนี้
แต่มีสถานะเป็นผู้ยืนยันว่าผู้กู้จะไม่ผิดชำระหนี้ (เบี้ยวหนี้)
ซึ่งหากผู้กู้ไม่ชำระหนี้จนเกินกำหนดทางสถาบันการเงินมีสิทธิที่จะเรียกเก็บหนี้สินจากผู้ค้ำประกันแทน
เพราะการค้ำประกันนั้นถือว่าเป็นการสัญญาว่าจะชำระหนี้คืนแทน หากผู้กู้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้คืนตามระยะเวลาที่กำหนด
ผู้ค้ำประกันเป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องนามสกุลเหมือนกัน
ไม่มีประวัติค้างชำระหนี้และมีรายได้ที่มั่นคง จะช่วยให้การอนุมัติผ่านง่ายขึ้น
ผู้ค้ำประกันจะไม่สิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับผู้ขอสินเชื่อ
ผู้กู้ร่วมและผู้ค้ำประกันแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนคือจะต้องมีเครดิตดี
ผู้กู้ควรพิจารณาให้ดีเพราะถ้าไม่มีวินัยในการชำระหนี้
ภาระจะตกไปอยู่กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้
เว็บรถมือสองดูออนไลน์ ทุกคันการันตีสภาพ ต้อง ดรีมคาร์ (DREAM CARS) ตลาดรวมรถมือสอง ฟรีดาวน์ ดอกเบี้ยพิเศษ พร้อมบริการจัดไฟแนนซ์ ส่งรถให้ดูถึงหน้าบ้าน