ตั้งแต่ช่วงปลายปี
2565 รัฐบาลได้ประกาศใช้มาตรการและกฎหมายจราจรใหม่
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ
โดยกฎหมายดังกล่าวได้เพิ่มบทลงโทษให้เข้มงวดขึ้น มาดูกันว่ากฎจราจรล่าสุดในปี 2567
มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง!
ต้องมีแอลกอฮอล์ในเลือดมากแค่ไหน ถึงเรียกว่า “เมาแล้วขับ” ตามกฎหมายจราจร หากตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 mg% สำหรับบุคคลทั่วไป และ 20 mg% สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือผู้ที่ถือใบขับขี่ชั่วคราว ถือว่าเป็นการเมาแล้วขับ หากปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ จะถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานเมาทันที
อัพเดตกฎจราจร เพิ่มโทษฐาน “เมาแล้วขับ”
กฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ได้มีการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำกรณี “เมาแล้วขับ” โดยกำหนดบทลงโทษผู้เมาแล้วขับ ดังนี้
1. ทำผิดครั้งแรก อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 - 20,000 บาท
2. ทำผิดซ้ำข้อหา "เมาแล้วขับ" ภายใน 2 ปี นับแต่วันกระทำผิดครั้งแรก เพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับ 50,000 - 100,000 บาท โดยศาลจะลงโทษจำคุก และปรับด้วย พร้อมถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
เมาแล้วขับทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ เสียชีวิต โทษสูงสุด 10 ปี ปรับ 200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
ประกันภัยครอบคลุมกรณีเมาแล้วขับหรือไม่?
การเมาแล้วขับถือเป็นการกระทำที่ประมาท บริษัทประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้กระทำผิด หากตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 mg% อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. จะยังคุ้มครองทั้งผู้กระทำผิดและคู่กรณีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่ารักษาพยาบาล แต่ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายของรถด้วยตัวเอง
สรุป หลีกเลี่ยงการเมาแล้วขับ ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า การเมาแล้วขับเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ควรหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิง หากจำเป็นต้องเดินทาง อาจใช้บริการรถสาธารณะ บริการคนขับรถจากแอปพลิเคชัน หรือพักผ่อนจนสร่างเมาก่อนขับรถ เพื่อความปลอดภัยในทุกเส้นทาง เพราะชีวิตสำคัญเกินกว่าจะเสี่ยง! ปฏิบัติตามกฎหมายและขับรถด้วยความรับผิดชอบ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและคนรอบข้างเว็บรถมือสองดูออนไลน์ ทุกคันการันตีสภาพ ต้อง ดรีมคาร์ (DREAM CARS) ตลาดรวมรถมือสอง ฟรีดาวน์ ดอกเบี้ยพิเศษ พร้อมบริการจัดไฟแนนซ์ ส่งรถให้ดูถึงหน้าบ้าน